ในตรีลักษณ์ทั้งแปดหรือปากว้านั้น แต่ละตรีลักษณ์จะมีความหมายของตน ทั้งความหมายเชิงตัวเลข ความหมายเชิงหลักการ ความหมายเชิงปรัชญา และความหมายเชิงรูปลักษณ์
เมื่อมีการกำหนดตรีลักษณ์ทั้ง 8 ขึ้นมาแล้ว ก็ได้มีการกำหนดเรียงตรีลักษณ์เหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นแผนภูมิเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของพลังงานของตรีลักษณ์ที่สัมพันธ์กันขึ้นมา โดยแผนภูมินี้ถูกเรียกว่าแผนภูมิอัฏฐลักษณ์…
อันว่า 5 ธาตุนั้นคือตัวแทนเชิงคุณสมบัติและปฏิกิริยาต่อกันของสิ่งต่างๆ (ไม่ใช่ คุณสมบัติเชิงองค์ประกอบมูลฐานเหมือนที่หลายๆที่กล่าวกัน) ดังนั้นเราจะพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นสามารถจัดหมู่รวมเข้าในหลัก 5 ธาตุได้ทั้งสิ้น…
หลัก 5 ธาตุถือว่าเป็นหลักการที่แสดงแนวคิดและความเชื่อแบบจีนผ่านทางวัฒนธรรมจีนมา ช้านาน สามารถกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีศาสตร์ใดๆของจีนที่ไม่อิงหลัก 5 ธาตุ ไม่ว่าจะเป็นโหราศาสตร์, พยากรณ์, แพทยศาสตร์, ฮวงจุ้ย…
หลังจากที่ได้เขียนเนื้อหาการก่อเกิดกว้าและแนะนำกว้าเป็นการเบื้องต้นไปแล้ว จาก “อี้จิงพื้นฐาน 1” และ “อี้ จิงพื้นฐาน 2 ว่าด้วย กว้า” ก็มาจะสรุปเนื้อความตามแนวหลักวิชาสายตัวเลขหรือคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมเป็นแผนภูมิออกมา
ในขั้นตอนของหลักแห่งอี้เสวี่ยหรือศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง ที่เรียกกันทั่วไปว่าอี้จิงนั้นเริ่มจาก “ไท่จี๋เกิดสองขั้ว สองขั้วเกิดสี่ลักษณ์” ในบทนี้ก็คงต้องมาว่าด้วย “สี่ลักษณ์เกิดปากว้า(กว้าทั้งแปดหรืออัฏฐลักษณ์)”
อันว่าวิชาอี้เสวี่ยหรืออี้ศึกษาที่เรียกทั่วไปว่าอี้จิงนั้นคือศาสตร์ที่ว่าด้วยพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงของ สรรพ สิ่งที่เขียนออกมาในรูปของสัญลักษณ์หรือลายเส้น และการอธิบายหลักวิชาของอี้เสวี่ยนั้นเต็มไปด้วยตรรกะ