หลังจากที่ได้เขียนเนื้อหาการก่อเกิดกว้าและแนะนำกว้าเป็นการเบื้องต้นไปแล้ว จาก “อี้จิงพื้นฐาน 1” และ “อี้ จิงพื้นฐาน 2 ว่าด้วย กว้า” ก็มาจะสรุปเนื้อความตามแนวหลักวิชาสายตัวเลขหรือคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมเป็นแผนภูมิออกมา
ในขั้นตอนของหลักแห่งอี้เสวี่ยหรือศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง ที่เรียกกันทั่วไปว่าอี้จิงนั้นเริ่มจาก “ไท่จี๋เกิดสองขั้ว สองขั้วเกิดสี่ลักษณ์” ในบทนี้ก็คงต้องมาว่าด้วย “สี่ลักษณ์เกิดปากว้า(กว้าทั้งแปดหรืออัฏฐลักษณ์)”
อันว่าวิชาอี้เสวี่ยหรืออี้ศึกษาที่เรียกทั่วไปว่าอี้จิงนั้นคือศาสตร์ที่ว่าด้วยพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงของ สรรพ สิ่งที่เขียนออกมาในรูปของสัญลักษณ์หรือลายเส้น และการอธิบายหลักวิชาของอี้เสวี่ยนั้นเต็มไปด้วยตรรกะ
อี้จิง (易经) คือคัมภีร์ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน นับตั้งแต่มีการกำหนดตรีลักษณ์จนกระทั่งถึงคัมภีร์โจวอี้ (周易) จนมาเป็นคัมภีร์อี้จิงที่รู้จักกัน นับว่าผ่านปราชญ์มามากมาย บทความนี้คือเนื้อหาคร่าวๆ ของประวัติความเป็นมาของอี้จิง
ลิ่วเหยา (六爻) หมายถึงลายลักษณ์ทั้งหก ซึ่งก็คือลายลักษณ์ที่ประกอบขึ้นเป็นฉักลักษณ์ในคัมภีร์อี้จิง ดังนั้นวิชาลิ่วเหยาจึงเป็นวิชาที่อาศัยเอาฉักลักษณ์ของอี้จิงมาเป็นเครื่องทำนาย โดยอาศัยการอ่านความหมายจากความสัมพันธ์และตำแหน่งของลายลักษณ์ทั้งหก
อี้จิงนั้นกล่าวว่าได้บรรจุหลักปรัชญาอันทรงคุณค่าที่สุดของจีนไว้ เป็นรากฐานก่อนปรัชญาทั้งปวงไม่ว่าจะเป็น เต๋า หรือ ขงจื้อ และเป็นรากฐานให้ชาวจีนดำรงชีวิตตามหลักปรัชญานี้มาอย่างยาวนาน อะไรคือปรัชญาที่อี้จิงได้อธิบายไว้? และเราจะอาศัยปรัชญานี้ในการดำรงชีวิตได้อย่างไร?
อี้จิง หรือคัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง คือคัมภีร์ที่มีความเป็นมายาวนานและเป็นรากฐานของปรัชญาแนวคิดและความรู้ในศาสตร์วิชาของจีนทั้งมวล คัมภีร์นี้บันทึกอะไรไว้? และมีรากฐานที่มาอย่างไร? ทำไมจึงเป็นที่มาของความรู้ศาสตร์จีนทั้งมวล?