เมื่อมีการกำหนดตรีลักษณ์ทั้ง 8 ขึ้นมาแล้ว ก็ได้มีการกำหนดเรียงตรีลักษณ์เหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นแผนภูมิเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของพลังงานของตรีลักษณ์ที่สัมพันธ์กันขึ้นมา โดยแผนภูมินี้ถูกเรียกว่าแผนภูมิอัฏฐลักษณ์หรือ “ปากว้าถู” โดยแผนภูมิเหล่านี้ได้แฝงเงื่อนงำของอภิปรัชญาและการใช้งานขั้นสูงเอาไว้ แบ่งเป็นสองแผนภูมิ หนึ่งคือแผนภูมิอัฏฐลักษณ์ก่อนสวรรค์ อีกหนึ่งคือแผนภูมิอัฏฐลักษณ์หลังสวรรค์
แผนภูมิอัฏฐลักษณ์ก่อนสวรรค์
1.แผนภูมิอัฏฐลักษณ์ก่อนสวรรค์
แผนภูมิแรกที่เกิดขึ้น ว่ากันว่ากำหนดขึ้นโดยฝูซีผู้สร้างเส้นหยินหยางและตรีลักษณ์(หรือก็คือผู้สร้างวิชานี้นั่นเอง) โดยฝูซีกำหนดแผนภูมินี้เพื่อแสดงความสัมพันธ์ในลักษณะของขั้วตรงข้ามของหยินหยางในสรรพสิ่ง พูดง่ายๆคือแผนภูมิแสดงหลักการของอัฏฐลักษณ์นั่นเอง แผนภูมินี้เรียกว่า แผนภูมิอัฏฐลักษณ์ก่อนสวรรค์
แผนภูมิอัฏฐลักษณ์หลังสวรรค์
2.แผนภูมิอัฏฐลักษณ์ก่อนสวรรค์
แผนภูมิที่สองกำหนดขึ้นโดยกษัตริย์โจวเหวินหวัง (พระนามเดิมคือ จีฉ่าง) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์โจวผู้รจนา “คัมภีร์โจวอี้” หรือที่เรียกกันว่า “อี้จิง” โดยโจวเหวินหวังเห็นว่าแผนภูมิอัฏฐลักษณ์เดิมนั้นเน้นเรื่องภาวะของพลังของขั้วตรงกันข้าม แต่ในแง่ของการใช้งานในโลกนั้นยังต้องพึ่งพา “การเปลี่ยนแปลง” ของพลังงานด้วย จึงสร้างแผนภูมิขึ้นมาอีกชุดซึ่งแตกต่างไปจากชุดเดิม เรียกว่า แผนภูมิอัฏฐลักษณ์หลังสวรรค์
แผนภูมิทั้งสองนี้ได้ถูกใช้อ้างอิงมาเป็นเวลาหลายพันปี และมีความสำคัญต่อแนวคิดและปรัชญาของชาวจีนเสมอมา ซึ่งรายละเอียดของแต่ละแผนภูมิจะนำมาเสนอกันต่อไปครับ