เมื่อเราเข้าใจพื้นฐาน 5 ธาตุ และเรียนรู้ปฏิกิริยาระหว่างกันของธาตุทั้งห้า จากบทที่แล้ว ก็มาทำความเข้าใจต่อกับคุณสมบัติของ 5 ธาตุเบื้องต้นในบทนี้กันครับ
อันว่า 5 ธาตุนั้นคือตัวแทนเชิงคุณสมบัติและปฏิกิริยาต่อกันของสิ่งต่างๆ (ไม่ใช่ คุณสมบัติเชิงองค์ประกอบมูลฐานเหมือนที่หลายๆที่กล่าวกัน) ดังนั้นเราจะพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นสามารถจัดหมู่รวมเข้าในหลัก 5 ธาตุได้ทั้งสิ้น ซึ่งมีมากมายนับไม่ถ้วน ดังนั้นในบทนี้จึงขอเสนอเพียงคุณสมบัติพื้นฐานบางส่วนก่อน ซึ่งเราจะได้พบคุณสมบัติ 5 ธาตุนี้ในบทอื่นๆต่อไปด้วยเช่นกัน
คุณสมบัติพื้นฐานของ 5 ธาตุ
คุณสมบัติ |
ธาตุไม้ |
ธาตุไฟ |
ธาตุดิน |
ธาตุทอง |
ธาตุน้ำ |
สี |
เขียว |
แดง |
เหลือง |
ขาว, เงิน |
ดำ, น้ำเงิน |
ทิศทาง |
ทิศตะวันออก |
ทิศใต้ |
กลาง |
ทิศตะวันตก |
ทิศเหนือ |
ฤดูกาล |
ฤดูใบไม้ผลิ |
ฤดูร้อน |
ช่วงเปลี่ยนฤดู |
ฤดูใบไม้ร่วง |
ฤดูหนาว |
อวัยวะภายนอก |
ตา |
ลิ้น |
ช่องปาก |
จมูก |
หู |
อวัยวะภายใน |
ตับ |
หัวใจ |
ม้าม |
ปอด |
ไต |
เนื่องจากสรรพสิ่งต่างมีคุณสมบัติของธาตุทั้งห้า ดังนั้นกว้าทั้งแปดเองก็สามารถจัดคุณสมบัติเข้ากับ 5 ธาตุได้เช่นกัน ดังนี้
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เฉียน | ตุ้ย | หลี | เจิ้น | ซวิ่น | ขั่น | เกิ้น | คุน |
ทอง | ทอง | ไฟ | ไม้ | ไม้ | น้ำ | ดิน | ดิน |
หยาง | หยิน | หยาง | หยิน | หยาง | หยิน | หยาง | หยิน |
ทองแกร่ง | ทองรูปพรรณ | ไฟ | ไม้พุ่ม | ไม้ใหญ่ | น้ำ | ดินภูเขา | ดิน |
เมื่อเราพิจารณาความสัมพันธ์ของกว้าและ 5 ธาตุ จะพบว่ากว้ามีแปดกว้า แต่ธาตุมีเพียงห้า จึงจัดกว้าบางกว้าเข้าอยู่ในธาตุที่ซ้ำกัน แต่หากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่า แม้สองกว้าในธาตุเดียวกันแต่ยังมีคุณสมับัติของหยิน-หยางที่แตกต่างกัน เช่นใน เฉียน,ตุ้ย ต่างเป็นธาตุทอง แต่เฉียน-ทองเป็นหยาง หมายถึงทองแท้และแกร่งในธรรมชาติและแทนด้วยสิ่งที่อยู่ตำแหน่งสูง ส่วนตุ้ย-ทอง คือทองที่มีคุณสมบัติเป็นทองแต่ไม่ใช่ทองแท้ หรือหมายถึงสิ่งมีค่าอย่างอื่นๆ หรือทองรูปพรรณ ส่วน เจิ้น-ไม้ เป็นหยินหมายถึง ไม้พนา ไม้เล็กไม้พุ่ม แต่ซวิ่น-ไม้เป็นหยาง หมายถึงไม้ท่อน ไม้ซุง ไม้ใหญ่ ส่วนเกิ้น-ดิน เป็นหยางและเกิ้นหมายถึงภูเขา ดังนั้นเกิ้นจึงเป็นดิน-หินที่จับตัวแข็ง หรือดินภูเขา ส่วนคุนคือดินราบ หรือดินที่รองรับสรรพสิ่ง
เมื่อเรานำเอากว้าทั้งแปดมาทำปฏิกิริยาตามหลักห้าธาตุแล้ว เราจะได้วัฏจักรดังรูปล่างนี้
วัฏจักร 5 ธาตุ และ ปากว้า(อัฏฐลักษณ์)
เมื่อพิจารณาจากรูปเราจะสามารถเห็นคุณสมบัติการก่อเกิดส่งเสริม และข่มกันของกว้าได้ ซึ่งสามารถนำหลักนี้ไปใช้ในศาสตร์ต่างๆได้
ดังนั้นอย่าได้เข้าใจผิดว่า กว้าที่ตรงข้ามกันหมายถึงการหักล้างหรือข่มกัน เช่น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เฉียนกว้า กับคุนกว้าซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามกันนั้นคือคู่ปฏิปักษ์หรือข่มกัน ซึ่งความจริงแล้วคู่ตรงข้ามคือการตรงข้ามทางคุณสมบัติและรูปลักษณ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องข่มกันแต่อย่างใด หากแต่หลักการข่มและเสริมนั้นต้องนำหลักห้าธาตุมาช่วยในการพิจารณาถึงจะ สามารถระบุได้