หลัก 5 ธาตุถือว่าเป็นหลักการที่แสดงแนวคิดและความเชื่อแบบจีนผ่านทางวัฒนธรรมจีนมา ช้านาน สามารถกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีศาสตร์ใดๆของจีนที่ไม่อิงหลัก 5 ธาตุ ไม่ว่าจะเป็นโหราศาสตร์, พยากรณ์, แพทยศาสตร์, ฮวงจุ้ย…
หลังจากที่ได้เขียนเนื้อหาการก่อเกิดกว้าและแนะนำกว้าเป็นการเบื้องต้นไปแล้ว จาก “อี้จิงพื้นฐาน 1” และ “อี้ จิงพื้นฐาน 2 ว่าด้วย กว้า” ก็มาจะสรุปเนื้อความตามแนวหลักวิชาสายตัวเลขหรือคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมเป็นแผนภูมิออกมา
ในขั้นตอนของหลักแห่งอี้เสวี่ยหรือศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง ที่เรียกกันทั่วไปว่าอี้จิงนั้นเริ่มจาก “ไท่จี๋เกิดสองขั้ว สองขั้วเกิดสี่ลักษณ์” ในบทนี้ก็คงต้องมาว่าด้วย “สี่ลักษณ์เกิดปากว้า(กว้าทั้งแปดหรืออัฏฐลักษณ์)”
อันว่าวิชาอี้เสวี่ยหรืออี้ศึกษาที่เรียกทั่วไปว่าอี้จิงนั้นคือศาสตร์ที่ว่าด้วยพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงของ สรรพ สิ่งที่เขียนออกมาในรูปของสัญลักษณ์หรือลายเส้น และการอธิบายหลักวิชาของอี้เสวี่ยนั้นเต็มไปด้วยตรรกะ